กระบวนการหายใจ อากาศเมื่อเข้าสู่ปอดจะไปอยู่ในถุงลม ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายลูกองุ่น ปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมข้างละ 150 ล้านถุง แต่ละถุงมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 0.1 มิลลิเมตร ถุงลมทุกอันจะมีหลอดเลือดฝอยมาห่อหุ้มไว้ การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ไนโตรเจน และไอน้ำ ผ่านเข้าออกถุงลมโดยผ่านเยื่อบางๆของถุงลมเลือดจากหัวใจมาสู่ปอด เป็นเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง เมื่อมาสู่ถุงลมจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยออกซิเจนในถุงลมจะแพร่เข้าสู่เส้นเลือด ขณะเดียวกันคาร์บอนไดออกไซด์ในเส้นเลือดจะแพร่เข้าสู่ถุงลม แล้วขับออกทางลมหายใจออก การหายใจเข้า ![]() แหล่งที่มา : กุสุมาวดี คำเกลี้ยง และคณะ. สุขศึกษา 5. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2558. ขณะหายใจเข้า เกิดจากกล้ามเนื้อกะบังลมหดตัว ทำให้แผ่นกะบังลมเลื่อนต่ำลงมาทางช่องท้อง เป็นการเพิ่มปริมาตรของช่องอกในแนวตั้ง เนื่องจากเนื้อเยื่อปอดอยู่ประชิดแนบสนิทกับกะบังลม และช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อปอดกับกะบังลมเป็นสุญญากาศ เมื่อกะบังลมเลื่อนต่ำลงจึงดึงเนื้อเยื่อปอดให้ขยายตัวตามแนวตั้งด้วย ความดันภายในปอดจึงลดลง อากาศจากภายนอกจึงเข้ามาแทนที่ได้ การหายใจออก
![]() แหล่งที่มา : กุสุมาวดี คำเกลี้ยง และคณะ. สุขศึกษา 5. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์เอมพันธ์, 2558. ขณะหายใจออก เมื่อกล้ามเนื้อกะบังลมหรือกล้ามเนื้อยึดระหว่างซี่โครงด้านนอกคลายตัว เนื่องจากผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปอดมีความยืดหยุ่นทั้งผนังช่องอกและเนื้อเยื่อปอดจะหดตัวกลับสู่ปริมาตรเดิม ทำให้ความดันภายในปอดเพิ่มสูงขึ้นกว่าความดันบรรยากาศ อากาศจึงไหลออกจากปอดสู่บรรยากาศภายนอก คนปกติขณะพักจะหายใจประมาณ 16 ครั้งต่อนาที แต่ละครั้งสูดอากาศประมาณ 400-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ระหว่างออกกำลังกายการหายใจจะถี่ขึ้น และปริมาณอากาศแต่ละครั้งจะมากขึ้น ในการออกกำลังกายหนักเต็มที่อัตราการหายใจจะสูงกว่า 50 ครั้งต่อนาที ปริมาณอากาศแต่ละครั้งจะมากถึง 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมากกว่านั้น การเพิ่มของการหายใจเป็นปฏิภาคกับความหนักของการออกกำลังกาย (ปริมาตรการหายใจต่อนาทีหรืออัตราการหายใจคูณด้วยปริมาตรการหายใจแต่ละครั้ง) การเพิ่มการหายใจระหว่างการออกกำลังกายเป็นความพยายามของร่างกายที่จะรับออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการและขับถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นออกไป ในภาวะที่ร่างกายออกกำลังกายที่มีความหนักคงที่และปริมาตรอากาศหายใจต่อนาทีคงที่ ปริมาณการรับออกซิเจนของร่างกายจะเท่ากับความต้องการออกซิเจนของร่างกายขณะนั้นการหายใจทางจมูกถูกหลักทางสรีรวิทยามากกว่าการหายใจทางปากเพราะจมูกมีขนกรองฝุ่นละออง มีเยื่อเมือกทำให้อากาศชุ่มชื้นและอบอุ่น ในการออกกำลังกายที่ไม่หนักมากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสูดอากาศทีละมากๆ การหายใจทางจมูกถูกสุขลักษณะดีกว่า แต่การออกกำลังกายหนักที่ต้องการอากาศถ่ายเทเข้าออกทีละมากๆ การหายใจทางจมูกไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหายใจทางปากด้วย ในช่วงแรกอาจใช้ช่วยในการหายใจออก ในขั้นหนักเต็มที่ต้องหายใจเข้า-ออกทางปากด้วยทั้งนี้ใช้ได้สำหรับการออกกำลังกายในระยะสั้น อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ มีดังนี้ 1. การจาม เกิดจากการหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาดเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงพยายามขับ สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกมานอกร่างกาย
โดยการหายใจเข้าลึกแล้วหายใจออกทันที ทันที ทำให้สายเสียงสั่น เกิดเสียงขึ้น และหลอดลม ร่างกายจะมี การหายใจเข้ายาวและหายใจออกอย่างแรง .
โรคของระบบทางเดินหายใจ 1. โรคถุงลมโป่งพอง ( Ephysema) โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก สาเหตุของโรค สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ 2. โรคปอดจากการทำงาน 2.1 โรคปอดดำ (Anthracosis) เกิดจากการสะสมผงถ่านคาร์บอนในปอดปริมาณมาก 2.2 ลิโคซีส (Silicosisi) เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นของซิลิคอนไดออกไซด ์(Sillicon dioxide) เข้าไป ( silica ซิลิกา สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ SiO2 จุดหลอมเหลว 1,700 oC จุดเดือด 2,230 oC เป็นของแข็งไม่มีสีมีโครงสร้างผลึก 5 รูปแบบ ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย คอวตซ์และหินบางชนิดใช้ใน อุตสาหกรรมการผลิตแก้ว ผงขัด วัสดุทนไฟ และผลิตภัณฑ์เซรามิก เป็นต้น) 2.3 แอสเบสโตซีส (Asbestosis) ซึ่งเกิดขึ้นจากการหายใจเอาฝุ่นในโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีกลิ่นและฝุ่นของสีน้ำยาเคลือบ 3. โรคหืด คือ โรคของหลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันอันเนื่องมาจากมีการอักเสบของหลอดลม มีการหดเกร็ง กล้ามเนื้อหลอดลม มีเสมหะที่เหนียวออกมามากโรคหืด มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ 3.1 หลอดลมที่มีการตีบหรืออุดตันเป็นๆหายๆการตีบหรืออุดตันเกิดจาก กล้าเนื้อหลอดลมหดตัว เยื่อบุบวม มีการอักเสบ เสมหะมาก 3.2 มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมร่วมด้วย 3.3 หลอดลมมีสภาพไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ควันต่างๆ กลิ่นที่แรง สารก่อภูมิแพ้
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ 1. อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือบริเวณที่มีมลภาวะ เพราะอาจทำให้มีโอกาสติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย แต่ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็ควรมีอุปกรณ์สำหรับป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากอนามัย ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น 2. หากิจกรรมนันทนาการต่างๆทำเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด เพราะความเครียดจะมีผลทำให้หายใจเร็ว ซึ่งเป็นการหายใจที่ไม่ถูกต้อง 3. งดสูบบุหรี่ หรือใกล้ชิดกับบุคคลที่กำลังสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด เป็นต้น 4. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ควรรักษาความอบอุ่นของร่างกายเสมอ หลีกเลี่ยงการตากน้ำค้างหรือตากฝน เพราะอาจทำให้เป็นหวัดได้ 5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของปอดทำงานได้ดีขึ้น 6. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลที่ป่วยเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด วัณโรค เป็นต้น 7. หมั่นดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และตรวจสอบสมรรถภาพในการทำงานของปอดเป็นระยะๆ ถ้าเป็นไปได้ควรตรวจเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 8. เมื่อเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและทำการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เนื้อปอดถูกทำลาย ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากการสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น อาการก็จะแสดงชัดขึ้นตามลำดับ โดยอาการสำคัญที่พบบ่อยๆ ได้แก่ หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้โรคถุงลมโป่งพองหายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและปอดถูกทำลายช้าลง 9. ดูแลร่างกายให้เหมาะสม เช่น ผักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ |