เรื่อง กระบวนการย่อยอาหาร
การย่อยอาหารของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การย่อยเชิงกล (mechanical digestion) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงขนาดของอาหารทางกายภาพ โดยเปลี่ยนจากอาหารชิ้นใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงไม่มีเอ็นไซม์เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น การใช้ฟันบดเคี้ยวอาหาร การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร 2. การย่อยเชิงเคมี (chemical digestion) เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหาร จากอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก โดยมีเอนไซม์ (enzyme) เข้าร่วมในปฏิกิริยา เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสารอาหาร เรียกว่า น้ำย่อยมีสมบัติดังนี้ 1. เป็นสารประกอบประเภทโปรตีน ช่วยเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในร่างกายให้เกิดเร็วขึ้น หลังจากเกิดปฏิกิริยาแล้วจะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 2. การทำงานของน้ำย่อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและ pH ที่เหมาะสมเช่น น้ำย่อยที่กระเพาะอาหาร เปปซินและเรนนินจะทำงานได้ดีในภาวะเป็นกรด 3. มีความจำเพาะเจาะจงต่อสารอาหารที่ย่อย เช่น น้ำย่อยที่ย่อยไขมัน คือ ไลเปส (lipase) ทางเดินอาหารของมนุษย์ มนุษย์มีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์มีความยาวประมาณ 9 เมตร โดยมีลำดับการเคลื่อนที่ของอาหาร ดังนี้
อวัยวะที่มีการย่อยอาหารที่สำคัญ การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร อาหารจะถูกคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะอาหาร ด้วยการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่แข็งแรง 3 ชั้น เซลล์ภายในกระเพาะอาหารจะสร้างน้ำเมือก กรดไฮโดรคลอริก และเอนไซม์เพปซิน ซึ่งอยู่ในสภาพ ไม่พร้อมทำงาน เรียกว่า เพปซิโนเจน กรดไฮโดรคลอริกทำให้เอนไซม์เพปซิโนเจนเปลี่ยนเป็นเอนไซม์ เพปซินที่พร้อมทำงานได้ เอนไซม์เพปซินจะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนจนมีขนาดโมเลกุลเล็กลงเป็นโปรตีนสายสั้นๆ เรียกว่า เพปไทด์ส่วนเรนนินช่วยย่อยเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนในน้ำนม โดยจะไม่มีการย่อยไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ กระเพาะอาหาร อาหารจะคงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารจนกระทั่งวัตถุสารที่เป็นของแข็งถูกย่อยเป็นของเหลว นาน 30 นาทีถึง6ชั่วโมงขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารนั้นๆกระเพาะอาหารมีการดูดซึมอาหารบางชนิดได้แต่ปริมาณ น้อยมาก เช่น น้ำ แร่ธาตุ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว โดยจะดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี การย่อยในลำไส้เล็ก อาหารที่ผ่านการย่อยจากกระเพาะอาหารจะเข้าเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้เล็กโดยในลำไส้เล็กจะมีเอนไซม์ หลายชนิดที่มาย่อยอาหาร สารอาหารที่ถูกดูดซึมจะต้องเป็นสารโมเลกุลเล็กที่สุด เช่น - คาร์โบไฮเดรต จะถูกดูดซึมในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว - โปรตีน จะถูกดูดซึมในรูปกรดอะมิโน - ไขมัน จะถูกดูดซึมในรูปกรดไขมันและกลีเซอรอล สารโมเลกุลเล็กเหล่านี้สามารถดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็กได้เพราะที่ผนังด้านในของลำไส้เล็ก ปกคลุมไปด้วยโครงสร้างเล็ก ๆ คล้ายนิ้วมือยื่นออกมา เรียกว่า วิลไล (villi) จำนวนล้าน ๆ หน่วย เพื่อเพิ่ม พื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหาร น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กรดอะมิโน รวมทั้งวิตามิน แร่ธาตุและน้ำ จะถูก ดูดซึมผ่านเซลล์บุผนังลำไส้เล็กเข้าสู่หลอดเลือดฝอย ส่วนกรดไขมันและกลีเซอรอลจะถูกดูดซึมที่ หลอดน้ำเหลือง เพื่อลำเลียงไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย กระบวนการย่อยอาหาร ขั้นที่ 1 การย่อยอาหารในปาก อาหารจะถูกบดเคี้ยวให้มีขนาดเล็กลง และทำให้อ่อนนุ่มด้วยน้ำลาย ภายในน้ำลายจะมีเอนไซด์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยอาหารคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและไกลโคเจน ให้มีขนาดเล็กลง ขั้นที่ 2 กล้ามเนื้อบริเวณหลอดคอบังคับให้อาหารเคลื่อนไปยังหลอดอาหาร โดยมีลิ้นไก่ปิดกั้นไม่ให้อาหารตกลงไปในหลอดลม จากนั้นอาหารจะเคลื่อนไปตามหลอดอาหาร โดยอาศัยการบีบตัวของหลอดอาหาร ขั้นที่ 3 การย่อยในกระเพาะอาหาร ในส่วนนี้อาหารที่ถูกย่อยส่วนใหญ่จะเป็นโปรตีน โดยเอนไซม์เปบซิน ขั้นที่ 4 การย่อยและดูดซึมสารอาหารในสำไส้เล็ก ในส่วนนี้จะมีการย่อยอาหารทั้งคาร์โบไฮเครต โปรตีน และไขมัน โดยในส่วนของคาร์โบไฮเดรตจะมีการย่อยต่อด้วยเอนไซม์อะไมเลสจากตับอ่อนจนกลายเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และถูกดูดซึมไปใช้ในการสร้างพลังงานต่อไป ในขณะที่โปรตีนจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์เปบซินอย่างต่อเนื่องจนได้กรดอะมิโน ส่วนไขมันนั้นก็จะถูกย่อยโดยเอนไซม์ไลเปสจนได้โมโนกลีเซอไรด์ (Monoglyceride) กรดไขมัน และกลีเซอรอล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในร่างกายต่อไป ขั้นที่ 5 การดูดซึมในลำไส้ใหญ่ จะมีการดูดซึมน้ำออก เหลือเป็นกากอาหาร ที่จะถูกขับออกนอกร่างกายในรูปของอุจจาระทางทวารหนักต่อไป สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด ดังนี้ คาร์โบไฮเดรต --------------> กลูโคส โปรตีน --------------> กรดอะมิโน ไขมัน --------------> กรดไขมัน + กลีเซอรอล การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหาร 1. กินอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว ข้าวซ้อมมือ ผักลวก ผักต้ม หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เป็นต้น 2. รับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ ให้เหมาะสมกับวัย ครบทุกประเภทในแต่ละมื้อ และควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย รสไม่จัด 3. ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย เพราะจะทำให้อาหารย่อยไม่หมดและส่งผลให้เกิดอาการท้องเฟ้อได้ รวมถึงไม่ควรรับประทานอาหารหมักดองซึ่งอาจไม่สะอาดและทำให้โรคระบบทางเดินอาหาร 4. เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อทำให้อาหารเล็กลงและช่วยลดภาระในการย่อยอาหาร 5. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารที่ขับออกมาเพื่อช่วยย่อย เมื่อไม่มีอาหารให้ย่อย ก็จะย่อยกระเพาะอาหารของเราเอง ส่งผลทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ในที่สุด 6. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหมักดอง เพราะอาหารเหล่านี้มักใส่สารเคมี เช่น สารกันเชื้อราหรือสารกันบูด หากบริโภคเข้าไปมากจะไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ บางรายอาจเกิดอาการแพ้ อาจมีผื่นขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้ 7. ดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันสม่ำเสมอ เนื่องจากการมีฟันที่แข็งแรง จะช่วยทำให้การบดเคี้ยวอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยย่อยอาหารในเบื้องต้นได้ 8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 9. พยายามหากิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ ทำ เพื่อผ่อนคลายความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ระบบการย่อยอาหารเกิดการแปรปรวน และอาจเกิดปัญหาเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อตามมา 10. ฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลาอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง อย่าปล่อยให้ท้องผูก เพราะจะทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนักตามมาได้ การฝึกนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลานั้น นอกจากช่วยทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารดีขึ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาในการขับถ่ายอุจจาระในระหว่างการเดินทางอีกด้วย 11. งดชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะชา กาแฟจะไปกระตุ้นการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้หลอดอาหารและกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง 12. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ จะช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น แต่ในขณะกินอาหารไม่ควรดื่มน้ำ เพราะจะทำให้ย่อยเจือจาง 13. เมื่อเกิดปัญหากับระบบย่อยอาหารในร่างกายของตนเอง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยทันที |