กระบวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ การรักษาดุลยภาพของร่างกายด้วยฮอร์โมน การควบคุมการหลั่งฮอร์โมน (Control
of Hormone Secretion)
ในเพศชายฮอร์โมน FSH,
LH (ICSH) เป็น gonadotropic hormones หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
การหลั่งของฮอร์โมนกลุ่มนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมน testosterone ที่สร้างมาจาก Leydig cells ที่อยู่ในลูกอัณฑะ
การทำงานของ testosterone จะเป็นแบบ feedback
mechanism เพื่อควบคุมการสร้างอสุจิและสร้างฮอร์โมน FSH, LH
โรคร้ายที่เกิดจากต่อมไร้ท่อ หลายคนอาจจะไม่ทราบ หรือไม่คุ้นเคยกับ “ต่อมไร้ท่อ” ว่ามันอยู่ในส่วนใดของร่างกาย ทำหน้าที่อะไร จริงๆ แล้วมีอวัยวะหลายส่วนที่อยู่ในเครือข่ายของต่อมไร้ท่อ ซึ่งหากเกิดความผิดปกติของส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็อาจกระทบกับการทำงานของอวัยวะส่วนนั้น หรืออาจจะกระทบไปทั้งร่างกายเลยก็เป็นได้ ต่อมไร้ท่อเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างฮอร์โมนต่างๆ และควบคุมการทำงานทุกชนิดของร่างกาย รวมไปถึงการสืบพันธุ์ ตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ด้วย 10 โรคร้ายที่เกิดจาก “ต่อมไร้ท่อ” ทำงานผิดปกติ 1. โรคเบาหวาน - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของตับอ่อน 2. โรคพีซีโอเอส หรือกลุ่มอาการที่รังไข่มีถุงน้ำหลายใบ ประจำเดือนมาผิดปกติ ไม่สม่ำเสมอ หรือ มากเกินไป - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อของรังไข่ 3. ภาวะนกเขาไม่ขัน - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในอัณฑะ 4. ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์ 5. โรคอ้วน - อาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง 6. โรคเนื้องอกในสมอง - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมหมวกไต หรือต่อมไต้สมอง 7. โรคมะเร็งในตับอ่อน - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในตับอ่อน 8. โรคออโต้อิมมูน หรือโรคภูมิต้านตัวเอง - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์ 9. โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในต่อมไทรอยด์ 10. โรคเนื้องอกตับอ่อน - เกิดจากการทำงานผิดปกติของเซลล์ต่อมไร้ท่อในตับอ่อน เมื่อมีความผิดปกติของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้รีบพบแพทย์ เพราะการตรวจหาความผิดปกติ ของต่อมไร้ท่อ ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจเท่านั้น นอกจากนี้โรคที่เกิดจากต่อมไร้ท่อมักเป็นโรคเรื้อรัง ที่อาจจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนั้นการพบแพทย์ตามเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย
การสร้างเสริมและดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ 1. รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีวิตามินหลากหลาย และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะช่วยทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานตามปกติ 2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพราะน้ำจะช่วยให้ต่อมไร้ท่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. งดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ บางต่อมทำให้ทำงานด้วยประสิทธิภาพลง เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งรังไข่ และอัณฑะ 4. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ โรงงานอุตสาหกรรมสี โรงงานอุตสาหกรรมยาฆ่าแมลง การใช้ยาฆ่าแมลง เป็นต้น 5. พักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรทำกิจกรรมนันทนาการเพื่อผ่อนคลายและการนอนหลับพักผ่อน 6. คิดในแง่ดี คิดสร้างสรรค์ อย่าคิดในแง่ร้ายหรือคิดในเชิงลบ และต้องรู้วิธีการจัดการกับความเครียด เพราะความเครียดจะส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดปริมาณของฮอร์โมนได้และอาจส่งผลต่อฮอร์โมนอื่น ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ 7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละประมาณ 30 นาที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้อวัยวะต่างๆ รวมทั้งต่อมไร้ท่อได้ทำงานปกติ 8. สำรวจดูแลสุขภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติตรวจสมรรถภาพของตนเองอย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจสมรรถภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อซึ่งทำหน้าที่ประสาทงานร่วมกับระบบต่างๆ เช่น การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง เพื่อดูความสัมพันธ์และพัฒนาการเจริญเติบโตว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ |